ข่าวประชาสัมพันธ์

ทำไป พักไป ช่วยให้องค์กรก้าวหน้า
หน้าหลัก / ข่าวประชาสัมพันธ์ / ทำไป พักไป ช่วยให้องค์กรก้าวหน้า
20/04/2564 | 969 ครั้ง

“ใกล้จะถึงวันหยุดยาวแล้ว คุณยังไม่ได้วางแผนท่องเที่ยวเลยใช่หรือไม่”

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เห็นว่า การจัดการกับเอกสารกองโตบนโต๊ะ สำคัญเกินกว่าที่จะสละเวลามาคิดถึงเรื่องพักผ่อน ขอบอกว่า คุณไม่ได้นั่งอยู่ลำพัง ยังมีคนทำงานในองค์กรจำนวนมากที่นั่งทำงานหนักอยู่เคียงข้างคุณ แต่เขาเหล่านั้นอาจไม่ได้มีความสุขกับงานเท่าใดนัก และการทำงานหนักของเขาอาจจะไม่สามารถผลักดันองค์กรให้ประสบความสำเร็จก้าวหน้าได้

จากการสำรวจความสุขคนทำงาน พ.ศ. 25611 พบว่ามีคนทำงานจอมพลังจำนวนมากที่มักจะแถมชั่วโมงทำงานให้กับองค์กรที่เขารักอยู่เสมอ โดยประมาณ 14% ของพนักงานในองค์กรทำงานประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉลี่ย และอีก 4% ทำงานนานกว่า 11 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉลี่ย เขาเหล่านี้ สละเวลาทานข้าวกลางวัน และเวลาพักผ่อนตอนเย็น มาเป็นเวลา “งาน งาน งาน” โดยเกือบครึ่ง


ภาพที่ 1 การทำกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ กับความเครียด
 

ภาพที่ 2 การพักผ่อนกับคะแนนความสุข ความทุ่มเทในการทำงาน และความผูกพันของคนทำงาน

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานตลอดเวลา ทำงานหนักในชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน ไม่สนใจที่จะหาเวลาพักทานข้าว หรือไม่ยอมหาวันหยุดไปเที่ยวเล่นบ้าง คุณจะกลายเป็นคนที่เหนื่อยล้าในการทำงาน ขาดพลังที่จะทุ่มเทให้กับองค์กร และมีความผูกพันต่อองค์กรน้อย และคุณก็น่าจะไม่ใช่คนที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้เพราะคนทำงานที่ไม่ผูกพันต่อองค์กรจะมีผลิตภาพต่ำ ทำงานอย่างเหนื่อยล้าและเผื่อแผ่พลังด้านลบเหล่านั้นไปยังเพื่อนร่วมงานรอบข้าง ส่งผลต่อศักยภาพขององค์กร ทำให้รายได้และกำไรขององค์กรลดต่ำลงได้



ภาพโดย: ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น

1ข้อมูลจากโครงการศึกษาวิจัยนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรเพื่อนำไปสู่องค์กรสุขภาวะและความยั่งยืน (HAPPINOMETER) สำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับ สถาบันวิจัยระชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

 



หนึ่งของคนทำงาน (43%) รายงานว่ามีเวลาพักผ่อน ในแต่ละวันน้อยกว่าสองชั่วโมง (ไม่นับรวมเวลานอนหลับ) ประมาณ 7% ทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ หรือทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ เดาได้เลยว่า คนทำงานเหล่านี้ เป็นบุคคลที่ “เพื่อนโรงเรียนเก่าไม่เคยเห็นหน้า ป๊าม้าลืมชื่อจริงกิ๊กหญิงกิ๊กชายไม่เคยมาขอนัดเดท” จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่คนทำงาน กลุ่มนี้เก็บซ่อนความเหนื่อยล้าไว้ภายใน โดยราว 9% ของคนทำงาน รู้สึกว่าตนเองพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือพักผ่อนน้อย

การทำงานหนักมากไป โดยไม่ให้โอกาสตนเองได้พักผ่อนหย่อนใจ ก่อให้เกิดความเครียด และบั่นทอนความสุขในชีวิต ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความสุขคนทำงาน พ.ศ. 2561 พบว่า การได้ทำกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด ผู้ที่ทำกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจบ่อยครั้งในแต่ละสัปดาห์ส่วนใหญ่จะมีความเครียดระดับต่ำ หรือไม่เครียดเลย (ภาพที่ 1) แต่สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ กล่าวคือในแต่ละสัปดาห์แทบจะไม่ได้อ่านหนังสืออ่านเล่น ไม่ได้ดูหนังฟังเพลง หรือไม่ได้ทำกิจกรรมที่ตนเองชอบเลยจะมีระดับความเครียดสูง คนที่ไม่ได้ทำกิจกรรมที่พักผ่อนหย่อนใจอะไรเลยในแต่ละสัปดาห์แทบทุกคน (94%) เครียดมากถึงมากที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คนทำงานที่พักผ่อนน้อย จะมีความสุขในชีวิตที่น้อยกว่าคนอื่นๆ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า จำนวนชั่วโมงการพักผ่อนในแต่ละวันของคนทำงาน มีความสัมพันธ์กับคะแนนระดับความสุข (ภาพที่ 2) โดยคนทำงานที่พักผ่อนน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน (ไม่รวมเวลานอน) เป็นกลุ่มคนที่มีความสุขน้อยที่สุด และแน่นอนคนทำงานที่พักผ่อนต่อวัน 8 ชั่วโมงขึ้นไปมีความสุขสูงที่สุด

การพักผ่อนน้อยของคนทำงาน นอกจากจะไม่ส่งผลดีกับตัวเขาเอง ยังดูจะไม่ส่งผลดีกับบริษัทหรือองค์กรที่เขาทำงานอีกด้วย ภาพที่ 2 ชี้ให้เห็นว่า จำนวนชั่วโมงการพักผ่อนในแต่ละวันของคนทำงาน มีความสัมพันธ์กับคะแนนความทุ่มเทในการทำงาน และความผูกพันองค์กร คนทำงานที่พักผ่อนน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน เป็นกลุ่มคนที่มีค่าคะแนนความทุ่มเทในการทำงานน้อยที่สุด กล่าวคือการพักผ่อนน้อยอาจส่งผลให้เขาทำงานอย่างขาดเป้าหมาย หมดแรงที่จะกระตือรือร้นผลักดันงานที่รับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ และขาดพลังที่จะต่อสู้ทุ่มเทเพื่อองค์กร และคนกลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มคนที่ผูกพันกับองค์กรน้อยที่สุดด้วยเช่นกันการทำงานหนักมากไปจนขาดเวลาพักผ่อน อาจทำให้เขาไม่รู้สึกภาคภูมิใจในองค์กรเท่าที่ควร ความเหนื่อยล้าอาจทำให้เขาไม่อยากอยู่กับองค์กรที่ตนเองทำงาน หากมีโอกาสที่ดีกว่าก็อาจจะจากลาไปทำงานที่อื่นได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://theprachakorn.com/newsDetail.php?id=421

301673
โครงการศึกษาวิจัยนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรเพื่อนำไปสู่องค์กรสุขภาวะและความยั่งยืน (HAPPINOMETER)
โทร 02-441-0201-4 ต่อ 536 (คุณพัจนันท์ ศิริรัตน์มงคล) ต่อ 538 (คุณปรียา พลอยระย้า)
ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย (TCHS)
โทร 02-441-0201-4 ต่อ 520 (คุณสุภาณี ปลื้มเจริญ) ต่อ 536 (คุณพัจนันท์ ศิริรัตน์มงคล)
โครงการศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยแห่งความสุขกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน (Happy University)
โทร 02 441 0201 4 ต่อ 426 (นางสาวศกุนตลา แสงสุวรรณ) 536 (นางสาวพัจนันท์ ศิริรัตน์มงคล)